วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

บันทันทึกครั้งที่ 6

อาจารย์ให้นำเสนองาน ดังนี้

เด็กปัญญาเลิศ

ด็กปัญญาเลิศ

1. นิยาม
เด็ก ปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ           เด็ก อัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ  แต่ เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
2. การคัดแยก
 การคัดแยกเด็กปัญญาเลิศจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการที่จะตามมา  ซึ่งได้แก่เป้าหมายของการศึกษา  วัตถุประสงค์  การจัดหลักสูตร  วิธีสอน  และการประเมินผลการศึกษา  การคัดแยกเด็กปัญญาเลิศนั้น  ควรเริ่มในวัยเด็ก  ทั้งนี้เพื่อจะได้ส่งเสริมเด็กได้ทันท่วงที  ผู้ที่ทำการคัดเลือกควรใช้วิธีการหลายๆวิธีรวมกัน  ไม่ควรใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง  เพราะว่าเด็กมาจากสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันซึ่งจะส่งผลต่อการทดสอบ  หากเด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์  ภาษา  และการพูดด้วยแล้ว  การทดสอบตลอดจนการแปลผลคะแนน  จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง  ให้เลือกใช้วิธีการคัดแยกเด็กวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
 2.1 การคัดแยกเด็กตามวิธีของโกแวน  (Gowan) มีดังนี้
2.1.1 คัดเลือกเด็กที่หลายคนคิดว่าเป็นเด็กฉลาด 
2.1.2 ทดสอบเด็ก  โดยใช้แบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาที่เป็นการทดสอบพร้อมกันครั้งละหลายคน  คัดเลือกเอาเด็กที่ได้คะแนนสูงสุด 10%  เด็กเหล่านี้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศ  ส่วนเด็กที่เหลือให้จัดกลุ่มไว้ต่างหาก  เด็กกลุ่มนี้เรียกว่า อ่างเก็บน้ำ
2.1.3 ให้ครูประจำชั้นคัดเลือกเด็กในชั้นจำนวนหนึ่ง  เด็กที่คัดเลือกควรมีลักษณะดังนี้
- เรียนเก่ง

- รู้คำศัพท์มาก
- มีความคิดสร้างสรรค์สูง
- มีความเป็นผู้นำ
- มีความสนใจและเก่งในวิชาวิทยาศาสตร์
- มีความคิดเชิงวิจารณ์สูง
- มีลักษณะพิเศษ  แต่มักรบกวนความสงบในห้องเรียน
- มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง
- มีเพื่อนมากที่สุด
- มีพ่อแม่ผู้ปกครองที่สนใจ  ส่งเสริมการเรียนของเด็ก
2.1.4 ทดสอบเด็กที่คัดเลือกไว้ในข้อ 1.3 โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  คัดเอาเด็กที่เก่งที่สุด 10% ไว้  ส่วนเด็กที่เหลือจัดไว้ในกลุ่ม อ่างเก็บน้ำ”  ตามข้อ 1.2
2.1.5 ครูใหญ่  ครูประจำชั้น  ครูแนะแนว  และครูอื่นที่เคยสอน  หรือรู้จักเด็กเป็นอย่างดี  ทำการคัดเลือกเด็กที่มีคุณสมบัติ  ดังต่อไปนี้
- เป็นหัวหน้ากลุ่มนักเรียน
 - มีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน
- มีพ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาดี
- เป็นเด็กฉลาด  แม้จะมีปัญหาในการอ่าน
- เป็นเด็กฉลาด  แม้จะมีปัญหาทางอารมณ์
- เป็นเด็กฉลาดที่คณะกรรมการนี้มีความเห็นว่าจะเป็นเด็กปัญญาเลิศ
2.1.6 เรียงลำดับรายชื่อเด็กและระบุว่าเด็กแต่ละคนถูกกล่าวถึงกี่ครั้ง
2.1.7 เด็กใน อ่างเก็บน้ำเหล่านี้  หากคนใดถูกกล่าวถึง 3 ครั้งขึ้นไป  ให้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศได้
2.1.8 เด็กใน อ่างเก็บน้ำเหล่านี้  หากคนใดถูกกล่าวถึง 2 ครั้งขึ้นไป  ให้นำไปทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ Stanford-Binet
2.1.9 เด็กใน อ่างเก็บน้ำที่ถูกกล่าวถึงเพียงครั้งเดียว  ให้ปล่อยกลับชั้นเรียนไป
2.1.10 เด็กที่ผ่านการทดสอบ (ใช้จุดตัดเป็นเกณฑ์) โดยแบบทดสอบ Stanford-Binet  ให้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศ  เด็กที่ไม่ผ่านให้กลับชั้นเรียนไป  หากมีเวลาหรือกรรมการเห็นว่าเหมาะสม  ควรทดสอบเด็กในข้อ 2.1.9 ด้วย  และปฎิบัติเช่นเดียวกับข้อ 2.1.10

                       

ในการคัดเลือกครูควรพิจารณาและสังเกตเด็กต่อไปนี้เป็นพิเศษ
- เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม  เช่น เด็กที่พ่อแม่ฐานะยากจนมาก 
- เด็กที่ปัญหาทางอารมณ์
- เด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
- เด็กที่มีความเป็นผู้นำ



วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


บันทึกครั้งที่ 4
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   

- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
- เด็กควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
- เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
- เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมนี้เห็นได้เด่นชัด คือ 
- วิตกกังวล
- หนีสังคม
- ก้าวร้าว
การจะจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
- สภาพแวดล้อม
- ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเม่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความขับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษิปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทาพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น (ADHD)
- เรียกย่อๆว่า ADHD
- เด็กที่ซนอย่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
- เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
- ยังติดขวดนม หรือ ตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม 
- เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสังคม
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว 
- ฝันกลางวัน
- พูดเพ้อเจ้อ
 

7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้(LD) IQ เท่ากับเด็กปกติ  (Children with Learning Disability)

- เรียกย่อๆว่า L.D.(Learning Disability)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
- เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือ การพูด การเขียน
 ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- มีปัญหาในทักษะทางคณิตศาสตร์
- ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
- เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
- มีปัญหาทางการอ่าน เขียน
- ซุ่มซ่าม
- รับลูกบอลไม่ได้
- ติดกระดุมไม่ได้
- เอาแต่ใจตัวเอง
8. เด็กออทิสติก (Autistic) 
- หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
- เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกส่วนตัวของตัวเอง
- ม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ่ำๆ
- ยึดติดกับวัตถุ
- ต่อต้าน หรือแสดงกิริยา อารมณ์รุนแรง และไร้เหตุผล
- มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
- ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่ต่างไปจากคนอื่น
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Hendicaps)


- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึางอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด